![]() |
หน้ายางตายนึ่ง (โรคหน้ายางแห้ง / เปลือกแห้ง) อาการเปลือกแห้งของยางพารา เป็นลักษณะความผิดปกติของการไหลของน้ำยาง ทำให้ผลผลิตลดลงจนกระทั่งไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ ปัญหายางหน้าตาย 2 ประเด็นหลักคือ 1.ยางตายนึ่งชั่วคราว (เมื่อเจอโรคทางดินจะแสดงปฏิกิริยา น้ำยางไม่ไหลทุกท่อไหลออกหัว ออกท้าย) 2.ยางตายนึ่งแบบถาวร (ไม้รู้วิธีรักษาปล่อยให้ต้นยางสู้กับโรคโดยไม่มีวิธีช่วยเหลือ หรือรู้แต่เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องกอปรกับยาที่รักษาไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ) สาเหตุของโรค เกิดจากการขาดการบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนด และใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดินกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป กรีดถี่เกินไป และใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง โดยอาจมีหลายปัจจัยร่วมกันได้แก่ 1. สภาพแวดล้อม ได้แก่ ที่ตั้งสวนยาง สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน รวมถึงโครงสร้างดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูก ในเขตแห้งแล้ง มีโอกาสเกิดอาการเปลือกแห้งได้มากกว่าเขตที่มีฝนตกชุก 2. พันธุ์ยาง อาการเปลือกแห้งเป็นลักษณะประจำพันธุ์อย่างหนึ่ง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงมีโอกาสที่จะเกิดเปลือกแห้งสูง และพันธุ์ยางบางพันธุ์เกิดอาการเปลือกแห้งได้ง่าย เช่น BPM 24 และ ยางตระกูล PB 3. ระบบกรีด การกรีดถี่ทำให้มีโอกาสแสดงอาการเปลือกแห้งได้สูงกว่าในระบบกรีดแบบวันเว้นวันเนื่องจากต้นยางสังเคราะห์น้ำยางขึ้นมาใหม่ไม่ทัน |
|
4. การเปิดกรีดต้นยางขนาดเล็ก นอกจากทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตน้อยแล้วยังมีผลทำให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้งมากขึ้น 5. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความถี่ของการใช้และความเข้มข้นของสารเคมีเร่งน้ำยาง มีผลทำให้การเกิดอาการเปลือกแห้งเร็วและรุนแรงขึ้น 6. ไม่ทราบสาเหตุ พบในต้นที่ยังไม่เปิดกรีด ต้นยางที่สมบูรณ์และปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือต้นยางที่กรีดด้วยระบบปกติโดยไม่สามารถวินิจฉัยได้ส่าเกิดจากสาเหตุใด 7. ปุ๋ยดีแต่ดินเป็นกรด ดินยึดธาตุอาหารในดินไว้หมด คือ มีปุ๋ยในดิน แต่ยางกินไม่ได้ นอกจากนั้นเมื่อดินเป็นกรดธาตุที่ละลายออกมาได้ดีคือธาตุเหล็ก ซึ่งถ้ามีมากจะเป็นพิษต่อต้นยาง 8. ดินแน่นเนื่องจากเป็นถนนเข้าสวน รากยางไม่สามารถแทรกลงดินได้ ต้องโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินทำให้ยางขาดสารอาหารได้เช่นกัน 9. การเปิดกรีดยางต้นเล็กไม่ได้ขนาด การกรีดไม่ประณีตทำให้เกิดแผลเป็น การกรีดหักโหมมากเกินไปและการเปิดกรีดหน้ายางทั้งสองด้าน เพื่อหาด้านที่ยางจะไหลล้วนเป็นการเร่งให้เกิดยางหน้าแห้ง ยางหน้าตายทั้งนั้น 10. การใช้สารทาหน้ายางที่ไม่เหมาะสม การใช้ปูนทาหน้ายาง เปลือกยางจะอุดตัน ทำให้หน้ายางเกิดใหม่บาง ไม่นิ่ม 11. ยางหน้าตายเป็นแถว เพราะโรคติดไปกับมีดกรีดยาง จากต้นหนึ่งไปยังต้นอื่นๆ มีน้ำยางไหลออกมาเป็นคราบดำ ๆ เปลือกแตก ยางไหลเพราะเชื้อราเข้าทำลายท่อน้ำยางภายในต้นลักษณะอาการของโรคหน้ายางแห้ง 1. ลักษณะอาการก่อนเกิดโรคต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้ 1.1 น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ 1.2 น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ การหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ 1.3 น้ำยางที่กรีดได้จะใส และมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ 1.4 เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง 2. ลักษณะอาการขณะเป็นโรคต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหล เปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตก พุพอง แต่ต้นยางไม่ตายถ้าปล่อยปละไม่ควบคุม จะแพร่กระจายลุกลาม ทำให้หน้ากรีดของยางต้นนั้นเสียหายทั้งหมด การลุกลามของโรคมีหลายลักษณะดังนี้ 2.1 โรคนี้ส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางด้านซ้ายมือเสมอ 2.2 เกิดโรคนี้แล้วไม่มีการดูแลรักษา โรคจะลุกลามไปยังหน้ากรีดที่อยู่ติดกัน 2.3 การลุกลามของโรคบนหน้ากรีด ถ้ากรีดจากบนลงล่างโรคก็จะลุกลามจากบนลงล่างถ้ากรีดจากล่างขึ้นบนโรคก็จะลุกลามจากล่างขึ้นบน 2.4 อาการเปลือกแห้งจะไม่ลุกลามจากเปลือกที่ยังไม่ทำการกรีดไปยังเปลือกงอกใหม่ และไม่ลุกลามจากเปลือกงอกใหม่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง 2.5 ถ้าเป็นโรคเปลือกแห้งชนิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 - 3 เดือน หน้ากรีดของต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้งทั้งหมด การป้องกันกำจัด 1. เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก 2. ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ 3. ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง 4. อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด 5. หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ การจัดการกับยางที่จะเปิดกรีดใหม่ 1. สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ก่อนเปิดกรีด 3 เดือน ควรทำร่องแยกหน้ากรีดออกจากกันในการทำร่องให้ใช้สิ่วเซาะเป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง 2. ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น โดยให้ร่องจดกับร่องที่ทำแบ่งแยกหน้ากรีดเพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามลงสู่ราก 3. เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาดและกรีดตามระบบที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง การจัดการกับยางที่เปิดกรีดแล้ว และเป็นโรคเปลือกแห้งเพียงบางส่วน 1. หากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเพียงบางส่วน ถ้าไม่ควบคุมโรคจะลุกลามออกไป ทำให้หน้ากรีดเสียหายทั้งหมด 2. ควบคุมโดยการทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน วิธีทำร่องใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 ซม. 3. หลังจากทำร่องเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค ------------------------------------------------------------------------------------ แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=211&s=tblplant โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549 https://www.gotoknow.org/posts/286836 |
ช่องทางการติดต่อ Tel. : 098-014 3881, 098-010 4288, เเละ 089-466 2610 Line : เอพีเครับซื้อไม้ยาง (คลิก) Facebook : เอพีเครับซื้อไม้ยาง (คลิก) Website : www.apkgroup.co.th (คลิก) |